วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หน่วยที่ 1.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

1. องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์
2. จิตและกระบวนการทำงานของจิต
3. พฤติกรรมมนุษย์
4. ความสัมพันธ์ระหว่าวจิตและพฤติกรรม
5. วิธีการศึกษาพฤติกรรม
6. แนวคิดของนักจิตวิทยาในการศึกษาพฤติกรรม

---------------------------------------------------------------

องค์ประกอบความเป็นมนุษย์

มนุษย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
องค์ประกอบของมนุษย์มี 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ
คำถาม นักศึกษาเชื่อว่า ร่างกายและจิตใจของมนุษย์นั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ก.ร่างกายและจิตใจแยกจากกัน
ข. ร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกัน


ก. ร่างกายและจิตใจแยกจากกัน

นักศึกษามีความเชื่อ เช่นเดียวกับ นักจิตวิทยากลุ่มทวินิยม(Dualism) นอกจากนี้นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ ยังมีแนวคิดต่างกัน 3 แนวคิดย่อยคือ

1. ลัทธิปฏิสัมพันธ์(Interactionism) เชื่อว่าแม้จิตใจและร่างกายแยกจากกัน แต่ก็ยังมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอยู่ โดยที่เชื่อว่าจิตใจเป็นผู้รับรู้และสั่งให้กายปฏิบัติ เข้าลักษณะ "จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว"

2. ลัทธิคู่ขนาน(Phychophysical Paralldism) เชื่อว่าจิตใจและร่างกายแยกจากกัน เป็นอิสระไม่มีอิทธิพลต่อกัน

3. ลัทธิผลพลอยได้(Epiphenomenalism) เชื่อว่าจิตใจเป็นผลพลอยได้จากการทำงานของร่างกาย โดยอธิบายว่าเมื่อเซลล์จำนวนมากมารวมกันระดับหนึ่งก็จะมีชีวิตแล้วมีจิตใจ

ข. ร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกัน

นักศึกษามีความเชื่อเช่นเดียวกับนักจิตวิทยากลุ่มเอกนิยม(Monism) ซึ่งในกลุ่มยังมีความคิดแตกต่างกันออกไปเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ

1. ลัทธิสสารนิยม(Materialism) เชื่อว่าร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกัน สิ่งเดียวนั้นคือ ร่างกาย เพราะเชื่อว่าการ
กระทำของมนุษย์เป็นการทำงานของร่างกาย แม้จิตใจก็เป็นกาย เพราะเป็นการทำงานของระบบประสาท

2. ทฤษฎีสองด้าน (Double-Aspect Theory) เชื่อว่าร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกัน เปรียบได้กับเหรียญที่มี 2 ด้าน การรับรู้ว่าเป็นจิตใจหรือร่างกายขึ้นอยู่กับมิติแห่งการรับรู้

3. ลัทธิจิตนิยม(Idealism) เชื่อว่าร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งเดียวกันและสิ่งเดียวกันนั้นคือ จิตใจ การรับรู้สสารต่าง ๆ เป็นการทำงานของจิตใจเท่านั้น


---------------------------------------------------------------


จากความสงสัยถึงความเกี่ยวพันกันของ การทำงานของจิต เรารู้ว่าจิตและกายนั้นทำงานสัมพันธ์กัน เกี่ยวเนื่องกัน และลักษณะการทำงานนั้นเป็นเช่นไร ข้าพเจ้าพยายามหาคำตอบสำหรับตนเองที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามภูมิพื้นฐานความรู้ของตัวเอง...

ทำไมถึงต้องมีการพัฒนาจิต


จิต...อยู่ที่ไหน อยู่ตรงไหน... เราที่พูดถึงจิตกันนี้ รู้ไหมว่า จิต เราอยู่ที่ไหน

จิต...ทำงานสัมพันธ์กับร่างกายนี้อย่างไร...

จิตที่ว่า... ยึดในกายนี้ ...และปลดปล่อยกายนี้ อย่างไร มีกระบวนการทำงานเช่นไรบ้าง

และอีกหลายๆ คำถามที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่ใคร่ครวญได้คำตอบ ด้วยตัวรู้ภายในตัวเอง

จิตมีพลังนุภาพที่ยิ่งใหญ่ที่ดึงและดูดในร่างกายนี้ไว้

เป็นกระแสในแง่การอธิบายในรูปของพลังงาน

แต่สำหรับบันทึกนี้ ข้าพเจ้าขอบันทึกเก็บไว้ในเรื่องของจิต สมอง และสารชีวเคมีทางสมอง... ในกลุ่มที่ศึกษาทางด้านจิตโดยมุ่งเน้นอธิบายบนฐานชีวเคมีทางสมอง การหลั่ง และการทำงาน... จะพูดถึงเรื่องความสมดุลและไม่สมดุลของสารชีวเคมีดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพ การรับรู้ ความคิด อารมณ์ ตลอดจนไปถึงสภาวะการเจ็บป่วยทางจิตใจ

ในกลุ่มศึกษาเรื่องจิตโดยอิงอาศัยแนวคิดทางด้านปรัชญา ศาสนา ... คำตอบจะออกมาค่อนข้างเป็นนามธรรม ที่บางครั้งก็ยากต่อการทำความเข้าใจยิ่งนั้น เรารู้แต่ว่ามีเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด... มีเหตุ จึงมีผล แต่กระบวนการภายในเล่าทำงานเช่นไร ก็เกิดคำตอบดั่งพระพุทธองค์ชี้ทางในเรื่องการแยกรูปแยกนาม แล้วรูปนามตัวไหนเล่าเป็นผู้ไปแยก เป็นผู้ไปรู้... คำตอบ ก็คือ ตัวจิต... แล้วจิตล่ะอยู่ตรงไหน...

ณ ภูมิรู้ขณะนี้เท่าที่มีของข้าพเจ้าได้เขียนสรุปออกมาเป็นภาพที่แสดง ณ ข้างต้น

(เป็นภูมิรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ... เสมือนเป็นสิ่งที่เราถนัดเรียกว่าคลิกหรือปิ๊งแว๊ป เกิดขึ้นภายในตัวเอง เพราะอาศัยการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีมานานก็ไม่ได้เกิดเป็นความเข้าใจได้เท่า ณ ตัวรู้ที่รู้ในวันนี้)

จากคำอธิบายที่ว่า จิต อาศัยร่างกายนี้ดำรงอยู่ ทำงานผ่านผัสสะ หรือประสาทสัมผัสทั้งหก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ... อาศัยศูนย์สั่งการ คือ สมอง ซึ่งเป็นสมองอันล้ำลึกและมีโครงสร้างที่ต่างจากสัตว์ชนิดอื่น เพราะมีโครงสร้างความซับซ้อนสัมพันธ์ไปถึงสารชีวเคมีทางสมอง และสารสื่อประสาททำงานโดยเฉพาะทางด้านศีลธรรม มโนธรรม (เป็นทุนที่มนุษย์ต้องสั่งสมผ่านสมองส่วนนี้ทำงาน)... เรามักเข้าใจว่า สมองคือ ส่วนสำคัญ แต่จริงๆ แล้ว หัวหน้าใหญ่ผู้คอยบงการทั้งมวล คือ จิต... ต่างหาก (รายละเอียดจะค่อยๆ ถอดบทเรียนออกมาเป็นบันทึกเก็บไว้)

เมื่อมีสิ่งมากระทบต่อบุคคลจะเป็นเรื่องดี หรือไม่ดีก็แล้วแต่ทุกอย่างถือว่า คือ สิ่งกระทบ หรือเป็นเหตุปัจจัย ... มนุษย์เรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัส สมองจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับรู้เข้ามา โดยอาศัย ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้นทุนนี้สั่งสมมาจากพันธุกรรม (ผ่านยีนส์และ DNA) สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ฟอร์มขึ้นมาเป็นบุคลิกภาพ การแสดงออกเป็นการกระทำ และเป็นความคิด ซึ่งมีสองขั้ว คือ บวก (ดี) และลบ (ชั่ว)... ขึ้นอยู่กับการสั่งสมต้นทุนและแต่ละผู้คน หากมีต้นทุนที่เป็นด้านบวกมาก จากสิ่งที่มากระทบ...สมองก็จะทำงานผ่านสื่อประสาทและสารชีวเคมี รวมถึงกระบวนการเรียนรู้ภายใน จนเกิดเป็นปัญญา คือ เรื่องที่มากระทบไม่เกิดให้เสียสมดุลทางสารชีวเคมีในสมอง บุคคลก็สามารถรับรู้และเผชิญต่อสิ่งที่มากระทบได้อย่างเหมาะสม

แต่ในทางตรงกันข้ามหากว่า ... ต้นทุนมีอยู่เป็นด้านลบมาก เกิดเป็นการหมกมุ่นอยู่ในสิ่งที่มากระทบ ส่งผลให้สารชีวเคมีในสมองทำงานผิดปกติ เสียสมดุลเกิดขึ้น เช่น เมื่อมีเรื่องมากระทบ เครียด โกรธ โมโห หดหู่ ซึมเศร้า เสียใจ ดีใจเกินเหตุ เหล่านี้ส่งผลต่อสารเคมีในสมองให้เกิดเป็นความไม่สมดุลเกิดขึ้น ส่งผลต่อการรู้คิด และอารมณ์ของบุคคลเพิ่มมากขึ้น เมื่อสารชีวเคมีทางสมองไม่สมดุล ก็เกิดเป็นความแปรปรวนในตนเองเกิดขึ้น และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราไม่เข้าใจต่อการตัดตอนเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด

ในชีวิตของคนเรามีเรื่องมากระทบอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่ประสาทสัมผัสเรายังทำงานอยู่ ... ดังนั้นตัวที่ทำงานหนัก คือ สมอง สารสื่อประสาท หรือสารชีวเคมีในสมองชนิดต่างๆ ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด ของผู้คนเกิดขึ้น... ต้นทุนเป็นลบ วัคซีนใจมีน้อย โอกาสที่เกิดเป็นความแปรปรวนเพิ่มมีมากขึ้น

ทางแก้ไข... เราต้องสร้างเหตุปัจจัยขึ้นมาใหม่ และต้องเป็นเหตุปัจจัยที่ดี ที่เป็นบวก เพื่อช่วยให้ร่างกายนี้ได้ทำงานสู่สภาวะที่สมดุล เพราะทุกอย่างที่มากระทบ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่างๆ มากมาย จะถูกนำเก็บสะสมไว้ในจิต โดยอาศัยสมองเป็นตัวทำงาน หรือเป็นเครื่องมือ พูดง่ายๆ คือ ...

จิต นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม จิตทำงานผ่านสมอง... อาศัยสมองของร่างกายมนุษย์นี้ทำงาน ดังนั้นจึงมีคำ/ประโยคที่ว่า เราโชคดีที่เกิดเป็นมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์มีร่างกาย และสมองส่วนที่ต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ได้อาศัยให้เกิดการทำงานขัดเกลาจิตใจ...

ดังนั้น... ความโชคดี ของการเกิดและดำรงอยู่นี้ จึงไม่ใช่ดำเนินไปตามยถากรรม เพียงแค่การสร้างฐานะความร่ำรวย การงานที่มั่นคง ชื่อเสียง เกียรติยศ หากแต่ดำเนินไปจากความพยายามในการสร้างเหตุปัจจัยที่ดีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเหตุปัจจัยที่ดีนี้ หากตามภาพ ก็คือ ต้นทุนใหม่ และภูมิคุ้มกันทางจิตใจ หรือวัคซีนใจนั่นเอง... ความสำคัญของการมีลมหายใจนี้อยู่ที่สร้างเหตุปัจจัยใหม่ อันเป็นเหตุที่ดีต่างหาก หากเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตอื่น จะไม่มีกระบวนการอันโชคดีนี้เท่ากับการมีร่างกายเป็นมนุษย์...


---------------------------------------------------------------
พฤติกรรมมนุษย์

การพัฒนาตนเป็น กระบวนการของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและ เป็นที่ต้องการ มากกว่า แต่กระบวนการ ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัย เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ศึกษา จะต้องทำความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อที่จะได้จัดการ ให้มีอิทธิพล เชิงบวก หรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อ การพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย

พฤติกรรมมนุษย์

ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์

พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น

สิ่งเร้าภายนอก
ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่พอใจทำให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คำชมเชย การยอมรับของเพื่อน ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้น้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อลักขโมย การปรับเงินเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น

มนุษย์โดยทั่วไปจะพึงพอใจกับการได้รับการเสริมแรงทางบวกมากกว่าการเสริมแรงทางลบ
วิธีการเสริมแรงทางบวก กระทำได้ดังนี้

๑. การให้อาหาร น้ำ เครื่องยังชีพ เป็นต้น
๒. การให้แรงเสริมทางสังคม เช่น การยอมรับ การยกย่อง การชมเชย ฯลฯ
๓. การให้รางวัล คะแนน แต้ม ดาว เป็นต้น
๔. การให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Information Feedback ) เช่น การรับแจ้งว่าพฤติกรรมที่กระทำนั้น ๆ เหมาะสม
๕. การใช้พฤติกรรมที่ชอบกระทำมากที่สุดมาเสริมแรงพฤติกรรมที่ชอบกระทำน้อยที่สุดเป็นการวางเงื่อนไข เช่น เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วจึงอนุญาตให้ดูทีวี เป็นต้น

องค์ประกอบพื้นฐานของพฤติกรรม

ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา

  • แรงจูงใจ (Motivation)
  • การรับรู้ (Perception)
  • การเรียนรู้
  • เจตคติและความคิดรวบยอด ( Attitude and Concept )
  • การตัดสินใจ (Decision Making)
---------------------------------------------------------------

ตัวอย่าง บทความ

มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่า นักคิดนักเขียนที่มีโลกทัศน์ไปในเชิงต่อต้านสังคม ต่อต้านกระแสโลกานุวัตรที่ "คนรุ่นใหม่" ส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน - คิดว่าตนเป็นคนทันสมัยหรือคิดว่าตนเป็นคนทันโลกทันสังคม

"ที่ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง" - ที่รวมโลกทัศน์ของผู้เขียนด้วย คือผู้ชอบทวนกระแสโลกที่ไร้พรมแดน ผู้มองโลกในแง่ร้าย เป็นคนล้าสมัยที่ไม่รู้เรื่องว่าโลกได้ก้าวไปถึงไหนกันแล้ว แต่คนรุ่นใหม่และคนส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งเหล่านี้หากมองจากอีกมุมมองหนึ่ง ไม่ต่างกับคนที่นักจิตวิทยาสังคม (social psychologist) ยุคเก่าที่คิดหรือสอนว่าสังคมมนุษย์เท่านั้น คือเบ้าหลอมเดียวที่ทำให้คนมีพฤติกรรมตามๆ กันไป (mass behavior) อย่างที่เราไม่สามารถต่อต้านได้ นักจิตวิทยาเก่าคร่ำครึเหล่านี้แม้จะมีส่วนน้อยนิดที่อาจจะถูกอยู่บ้าง ทำให้เราคุ้นเคยกับวลีที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า มนุษย์เราทุกๆ คนต้องตกเป็นเหยื่อของระบบและโครงสร้างของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนอาจจะชอบเสียด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ตนเป็นคนที่มีอายุแล้ว หรือเป็นคนในหมู่บ้านชนบทห่างไกลออกไปที่คิดว่า ตนจะล้าสมัยไม่ก้าวไปทันกับโลกที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา "ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่รู้จักสนับสนุนระบบเศรษฐกิจโลก ไม่รู้จักสิทธิของมนุษยชน" หากว่าที่บ้านของตนไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีเครื่องเล่นซีดีหรือวีซีดี โดยเฉพาะหากตัวเอง - แม้แต่ยังเป็นนักเรียนตัวเล็กๆ - ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ค่านิยมทางสังคมหรือความทันสมัยของคนรุ่นใหม่เหล่านี้ จริงๆ แล้วแม้จะเรียกว่าเป็นพฤติกรรมหมู่ หรือเป็นเรื่องของจิตวิทยาสังคมที่เราบางคนเคยถูกสอนกันมา เริ่มจากฟรอยด์ แต่ทว่าค่านิยมของสังคม คำที่ริชาร์ด ดอว์สัน นักสัตวศาสตร์วัตถุนิมจ๋าเรียกว่า "มีมส์" (memes) นั้น เป็นเรื่องของกายกับพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องของจิต พฤติกรรมศาสตร์อาจเกี่ยวข้องอย่างสำคัญยิ่งต่ออารมณ์และระบบลิมบิก กับ อมิกดาลา (limbic system and amygdala) แต่ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของกายและเวทนา ซึ่งขึ้นตรงต่อจิตรู้และความทรงจำระยะยาว (longterm memory) อันเป็นเรื่องของวิญญาณขันธ์ที่สมอง ซึ่งนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาศาสตร์หลายๆ คนในปัจจุบันจะถือเรื่องของจิตวิทยา ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายโดยเฉพาะลิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิงชิมแปนซี ว่าเป็นผลของจิตรู้หรือจิตสำนึก การรับรู้ ความทรงจำ อารมณ์ ฯลฯ เป็นเรื่องของจิตใจหรือใจ (mentality ซึ่งทำงานผ่าน mental pathway บริหารจัดการโดยสารเคมีและประจุไฟฟ้ากระแสต่ำๆ ที่และโดยสมอง) แยกออกไปจากจิตวิทยาว่าด้วยจิตก่อนรู้หรือจิตไร้สำนึก ในที่นี้-จิตเหนือสำนึกที่มีทั่วไปในทุกที่ว่างของจักรวาลในรูปของสนามแควนตัมซูเปอร์แควนตัม ฯลฯ ดังที่นักฟิสิกส์มีชื่อเสียงระดับโลกเช่น เดวิด โบห์ม เจ. พีต หรือกระทั่ง จอห์น เอ. วีลเลอร์ เชื่อ สนามจิตไร้สำนึก (เหนือสำนึก) ที่ทางศาสนาเรียกว่า มหาปัญญาของจักรวาล (unconscious mind field or Drivine (cosmic) consciousness) แยกออกเป็นจิตวิทยาผ่านตัวตนหรือจิตวิทยาจิตวิญญาณ (transcendent psychology - spiritual psychology) ดังที่วิลเลียม เจมส์, คาร์ล จุง, อับราฮัม มาสลอฟ โดยเฉพาะเคน วิลเบอร์ แนะนำไว้ (Ken Wilber : How Big Is Your Umbrella?, Ions 1995) พูดง่ายๆ ทุกวันนี้และเท่าที่ผู้เขียนรู้ วิชาจิตวิทยาใหม่ได้แยกจากพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาสังคมหรือจิตวิทยามวลชนแทบว่าโดยสิ้นเชิง และเป็นวิทยาศาสตร์เต็มตัวด้วย ซึ่งเท่าที่รู้จิตวิทยาจะแบ่งได้เป็นสองสาขาใหญ่คือ 1.เป็นเรื่องของจิตใจหรือใจ (mental pathway) ที่รวมความทรงจำ การรู้และการสำนึกรู้ รวมทั้งสติปัญญาความฉลาดเฉลียว และที่สำคัญยิ่ง เรื่องของอารมณ์ซึ่งให้ปฏิกิริยาด้านบวก (positive psychology) กับ 2.จิตวิทยาจิตวิญญาณ (spiritual pathway) อันเป็นเรื่องของจิตไร้สำนักที่เป็นจิตเหนือสำนึก ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว (Mario Beuregard and Denzye O'Leary: Spiritual Brain, 2007; and The 2007 Shift Report Evidence of A World Transforming, 2007)

โดยไม่มีเจตนาว่าใครทั้งสิ้นที่เป็นลักษณะของผู้เขียนที่มองชีวิตทุกๆ ชีวิตล้วนมีคุณค่าและความหมายแทบจะว่าเท่าเทียมกัน ดังที่ทุกๆ คนที่รู้จักผู้เขียนดีพอจะเห็นกันเช่นนั้น นั่นคือช่วงเวลาราวๆ ร่วมครึ่งค่อนศตวรรษที่แล้วเมื่อผู้เขียนยังอยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีโปรแกรมโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่ชื่อว่า "คำถามที่มีค่า 24 พันเหรียญฯ" (Twenty-four Thousand Dollars Question) ซึ่งเป็นเงินมากมายยิ่งในตอนนั้น มีคู่บ่าวสาวผิวขาวที่เราซึ่งอยู่อเมริกามานานพอจะรู้ว่า เป็นคนมาจากชนบทที่ค่อนข้างห่างไกลการศึกษา (hill-Billy) จำชื่อทั้งสองคนไม่ได้ รู้แต่ว่าทั้งคู่เพิ่งผ่านวัยเบญจเพสไปไม่นาน ทั้งคู่โดยเฉพาะหญิงจะค่อนข้างอ้วนท้วนหน่อยหนึ่ง คำถามที่คู่บ่าวสาวตั้งเป็นคำถามให้ผู้ฟังผู้ชมที่อยู่ในห้องส่งคืนนั้น เป็นคำถามที่ว่า "ท่านผู้ฟังผู้ชมเห็นด้วยกับเราสองคนมั้ยว่า บรรดาเพลงหรือวงดนตรีที่อเมริกาไม่ควรมีอย่างที่สุด เพราะไม่มีความเป็นอเมริกันเลย คือดนตรีหรือเพลงคลาสสิก......ที่ไม่เห็นว่าเป็นคลาสสิกตรงไหน...(ทำท่า)...ติ๊งๆ..หยุดไปนาน...แล้วก็...ติ๊งๆ..หยุดไปอีกนาน...ไม่รู้เรื่องเหมือนเพลงแจ๊ซที่เป็นของเราแท้ๆ...." แต่พอถามเสร็จ ผู้ฟังแทบทุกคนพากันนิ่งเงียบ มีเสียงหัวเราะของบางคนให้พอได้ยิน จำได้ดีว่ามีคนตบมือและผิวปาก ซึ่งคงเห็นด้วย - เพียงคนเดียว ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าที่พูดนั้นน่าจะถูกต้องที่ไม่มีนักแต่งเพลงคลาสสิกที่เป็นคนอเมริกันเลย แม้เพลงของจอร์จ เกิร์ชวิน เช่นเพลง "อเมริกันคนหนึ่งในปารีส" ที่ค่อนข้างคลาสสิกหน่อย ผู้เขียนก็ยังคิดว่าไม่ใช่และเป็นดนตรีประเภทแจ๊ซที่มาจากคนผิวดำอยู่ดี ตอนนั้น หลุยส์ อาร์มสตรอง ยังไม่ตายและยังเล่นที่บาร์ใต้ดินที่นิวยอร์ก ซึ่งผู้เขียนเคยไปฟังหนหรือสองหน ที่พูดไปนั่นเพื่อแสดงว่าผู้เขียนไม่เคยให้ความสำคัญเลยแม้แต่น้อยนิดต่อสีผิว กำเนิดและชาติพันธุ์ เพศหรือวัย หากเป็นธรรมชาติและมีชีวิตแล้ว ผู้เขียนจะถือว่าต่างล้วนมีคุณค่าและความหมายในตัวแทบจะเท่าๆ กัน รวมทั้งมดหรือแมลง ยกเว้นยุงกับเสียงของมัน

ดังนั้นที่ผู้เขียนคิดในคืนนั้น ผู้เขียนไม่ได้คิดในทำนองนั้นเลย หากไปคิดว่าที่ถามนั้นเหมือนกับว่าเป็นวิวัฒนาการย้อนกลับ (retro-evolution) ที่อันตรายสวนกับธรรมชาติ เป็นวัฒนธรรมทวนกระแสของมนุษย์ผู้อหังการที่เปรียบตัวเองเหนือสวรรค์ สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำโลกตะวันตกเพียงประเทศเดียว ทำให้ความคิดของคนอเมริกันคือความคิดที่คนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะคนในประเทศกำลังพัฒนา อาจคิดว่าคือเสียงสวรรค์และยินดีปฏิบัติตาม หากคนอเมริกันคิดว่าดนตรีคลาสสิกไม่ได้ความอย่างยิ่ง และไม่ใช่อเมริกันหรือเป็นกระแสอเมริกันโลกานุวัตร เกิดเป็นเสียงสวรรค์ที่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกล้างสมองจนเห็นความเป็นอเมริกันถูกต้องไปหมด ดนตรีแจ๊ซของคนผิวดำต้องครองโลกทั้งหมด (ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้) แล้วต่อไปวิวัฒนาการที่เป็นไปตามธรรมชาติ มิต้องเป็นวิวัฒนาการของผิวพันธุ์นิโกรไปทั้งหมดดอกหรือ? หากเราคิดให้ดีจะเห็นได้ว่า มนุษยชาติไม่ว่าสายพันธุ์ใดล้วนเริ่มต้นและวิวัฒนาการมาจากออสตราโลพิธิซีนจากแอฟริกาด้วยกันทั้งนั้น นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับร่วมกันว่า หลังจากที่มนุษย์วานร ออสตราโลพิธิกัส (australopithegus) ได้วิวัฒนาการมาเป็นโฮโม อีเรกตัส เรียบร้อยแล้วเท่านั้น มนุษย์ที่เดินตัวตรง (homo erectus) ส่วนใหญ่ถึงได้ออกมาจากแอฟริกาเมื่อราวๆ สองแสนกว่าปีก่อน และมนุษยชาติก็ได้มีวิวัฒนาการตามธรรมชาติเป็นสายพันธุ์ผิวสีต่างๆ ตั้งแต่นั้น (ยกเว้นสายพันธุ์นิโกรที่ไม่ได้อพยพตามเพื่อนออกไปในตอนนั้น) เป็นหลักการวิวัฒนาการของมนุษย์อันเป็นไปอย่างธรรมชาติ (Time-Life Series : The First Man. 1973) วิวัฒนาการย้อนกลับสู่แอฟริกา สู่สายพันธุ์ผิวสีดำของนิโกรและกลับสู่โฮโม อีเรกตัส ที่มีวิวัฒนาการในท้องถิ่นที่แอฟริกา หลัง สายพันธุ์ (ethnic group) อื่นๆ จึงเสมือนเป็นวิวัฒนาการสวนธรรมชาติ เช่นในปัจจุบันที่ในด้านหนึ่งมีคนผิวดำเป็นใหญ่ รวมทั้งการมีทักษะทางการต่อสู้หรือกีฬาเหนือสายพันธุ์อื่นใดมาแต่กำเนิด เพราะเป็นสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการหลังเพื่อนหลังสายพันธุ์อื่นๆ เช่น คอเคเชียน และมองโกลอยด์ ที่มีวิวัฒนาการไล่ตามกันมาตามลำดับ (ซึ่งมีผลงานวิจัยว่าสายพันธุ์ที่มีวิวัฒนาการหลังที่สุดหรือสายพันธุ์มองโกลอยด์ จะมีความฉลาดเฉลียว (intelligence) มากที่สุด)

ในความเห็นของผู้เขียนที่เชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่จำนวนไม่น้อยเช่น พอล เดวีส์ เซอร์เฟรด ฮอยล์, เดวิด โบห์ม ที่คิดว่าจักรวาลหรือพระเจ้าธรรมชาติคล้ายๆ จะมีแผนไว้ล่วงหน้าสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ตามที่ผู้เขียนได้เขียนและอ้างอิงมาตลอดเวลาว่า ในจักรวาลนี้มันไม่มีคำว่าบังเอิญ สิ่งที่มองไม่เห็นและพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้นั้น ทางวิทยาศาสตร์ที่ก็อาศัยประสาทสัมผัสภายนอกทั้งห้า อาศัยกายสัมผัส อาศัยจมูก หูหรือตา ที่ให้ผลเท่าๆ กับที่เรามองไม่เห็น แล้วสรุปว่าสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นไม่มีนั้น คงจะไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น การสร้างสรรค์ธรรมชาติทั้งหมดและการมีแผนไว้ล่วงหน้า - ไม่ว่าจะมีการกระทำของบุคคลนั้นๆ กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง - จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เพราะในที่นี้เป็นเรื่องของเราโดยรวม หรือของเผ่าพันธุ์มนุษย์เราโดยรวม พูดอีกอย่างได้ว่า จักรวาลหรือพระเจ้าสุดแท้ว่าใครจะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร สามารถจะลงโทษหรือให้รางวัลแก่เราในด้านของเผ่าพันธุ์ทั้งหมดอย่างไร เราไม่ได้พูดกันถึงปัจเจกชนหรือใครแต่ละบุคคลอย่างเดียว หรือในรายละเอียดเท่านั้น แต่เราต้องพูดและเน้นถึงเราโดยรวมที่หยาบกระด้าง อันหมายถึงสังคม วัฒนธรรม และอารยธรรมของมนุษยชาติพร้อมๆ กันและเป็นพิเศษ

ขอย้ำอีกทีว่า สำหรับผู้เขียนมันไม่มีคำว่าบังเอิญ ทุกสิ่งทุกปรากฏการณ์ในจักรวาลล้วนอุบัติขึ้นด้วยการสร้างสรรค์และมีแผนไว้ล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ วิวัฒนาการของจิตที่ต้องเรียนรู้ความจริงแท้ที่จะค่อยๆ โผล่ปรากฏออกมาในรูปของกายและปรากฏการณ์ จากหนึ่งสู่ความหลากหลาย (One to the Many) โดยกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาล กาแล็กซี ดาวและระบบสุริยะ โลก สรรพสิ่งทั้งที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ที่จิตหรือความจริงแท้เข้าไปอาศัย พร้อมๆ กับมีกระบวนการวิวัฒนาการของกายและปรากฏการณ์ต่างๆ ไปตลอดเวลา เพื่อให้จิต (ที่อยู่ภายใน) สามารถที่จะเรียนรู้ความจริงแท้อันสากลนิรันดร พูดง่ายคือ จักรวาลคือจิตหรือความจริงแท้ที่ด้านหนึ่งจะมีวิวัฒนาการเป็นกายและปรากฏการณ์ภายนอก ส่วนอีกด้านหนึ่งความจริงแท้จะเข้าไปอยู่ภายในของทุกสรรพสิ่งทั้งไม่มีชีวิตและมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ที่จะมีวิวัฒนาการทางจิตต่อๆ ไปเพื่อการเรียนรู้ความจริงแท้เพียงประการเดียว ผ่านการเรียนรู้เพื่อการดำรงอยู่ (existence) รอด ที่ผู้เขียนเรียกการเรียนรู้นั้นๆ ว่า "รู้รอด" และจากนั้นคือการเรียนรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ ของจักรวาลที่ค่อยๆ คลี่ขยายออกมาเป็นความรู้ที่ทวีความมากมายเป็นตัวองค์ความรู้นานาชนิด รวมทั้งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และสูตรสมการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ผู้เขียนเรียกว่า "รู้ว่า (ตนคือผู้มีความ) รู้" นั้น และการเรียนรู้อันสุดท้ายคือ การเรียนรู้ความจริงแท้หรือความหลากหลายทั้งหมดก็คือหนึ่ง (Many is One) ด้วยจิตวิญญาณที่อยู่ภายในหรือ "รู้แจ้ง" ซึ่งการเรียนรู้ทั้งสามนั้น จะเป็นไปด้วยการชี้นำด้วยกระบวนการวิวัฒนาการของจิตและกายปรากฏการณ์ตามลำดับ โดยมีจิตวิญญาณ (spirituality) สู่ "ความงาม" (the beautiful) พร้อม (คุณธรรมจริยธรรม) เป็นสรณะ

หากไม่เป็นไปตามธรรมชาติหรือเป็นไปตามนั้น เช่น ระบบและโครงสร้างของสังคมและอารยธรรมปัจจุบัน ที่เอื้อให้มนุษย์มีความเห็นที่ผิดๆ บนพื้นฐานของความเห็นแก่ตัว โลภ โกรธ หลง ถอยห่างจากจิตวิญญาณความจริงแท้มากขึ้นๆ การถูกลงโทษจึงจำเป็น.


---------------------------------------------------------------

วิธีการศึกษาพฤติกรรม

ในการศึกษาพฤติกรรมนั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ

1. วิธีการทดลอง ( experimental method )

วิธีการทดลองนี้เป็นวิธีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมเชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร (valiable) ซึ่งตัวแปรนี้ หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ไม่คงที่ สำหรับตัวแปรที่เป็นสาเหตุ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลตามมา เราเรียกว่า ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ( independent valible ) ซึ่งเป็นตัวแปรถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดูว่าส่งผลต่อตัวแปรตามอย่างไรส่วนตัวแปรที่เป้นผลเรียกว่า ตัวแปรตาม ( dependent valible ) สำหรับการปฏิบัติของผู้ทดลองต่อตัวแปรอิสระ เรียกว่า การจัดกระทำ ( treatment ) ในการทดลองแต่ละครั้ง ผู้ทดลองต้องตั้งสมมุติฐานก่อนแล้วทำการทดลอง ในการทดลองจะมีสองลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติ กับการทดลองในห้องปฏิบัติการในการทดลองแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง การปฏิบัติซ้ำ หมายถึงว่าการกระทำซ้ำอีกก่าครั้งแม้ว่าจะบุคคลและสถานที่กันก็ได้ผลอย่างเดิมทุกครั้ง นักจิตวิทยาควรทำการทดลองซ้ำๆหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ผลอย่างเดิมเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ส่วนการควบคุมตัวแปรนั้นจะเห็นว่าในการทดลองแต่ละครั้งมีข้อจำกัด เพราะการที่จะควบคุมตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งนั้น อาจจะมีตัวแปรซ้อนมาทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ในการสรุปผลก็เช่นเดียวกันต้องมีขอบเขตจำกัด คือ ผลการทดลองจะเกิดลักษณะนี้ได้เฉพาะในกลุ่มทีมีคุณลักษณะแบบนั้นเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้กับกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันออกไปได้

ทดลอง(Experimental Method)

รายละเอียด

- ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ(ตัวแปรอิสระ) กับผล(ตัวแปรตาม)ระหว่าง 2 เหตุการณ์

- มีการจัดกระทำต่อตัวแปรอิสระ

- มักมีกลุ่มควบคุม ไว้เปรียบเทียบ

ตัวอย่าง

1. การศึกษาผลของรูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ กับผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษา

2. การศึกษาผลของการนั่งสมาธิกับผลสัมฤทธิ์ทางเรียน

2. วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง ( introspection method )

วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง หรือ วิธีการพินิจภายในนี้ หมายถึง วิธีการที่บุคคลสังเกตตนเองหรือสำรวจตนเอง โดยการให้บุคคลพิจารณาความรู้สึกของตนเอง สำรวจตรวจสอบตนเอง แล้วรายงานถึงสาเหตุและความรู้สึกของตนเองออกมา ซึ่งในการตรวจสอบจิตตนเอง บางครั้งอาจใช้วิธีการนึกย้อนทบทวนไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และฝังใจหรือประทับใจในอดีต อาจกลายเป็นปมขัดแย้งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ก็เป็นได้

รวจ(Survey Method)

รายละเอียด

- ศึกษาตัวแปรอย่างมีระบบในสถานการณ์ที่พบ

- เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม (Questionair) ต้องมีความตรงและความเชื่อถือได้

- มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม

ตัวอย่าง

1. การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาต่อการเล่นพนันบอล

2. การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอนของอาจารย์

3. วิธีทางคลีนิค ( clinical method )


วิธีการนี้เป็นหลักการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้บุคคลมีสุขภาพจิตดีขึ้น โดยการเรียนรู้หลักเกณฑ์และความจริงต่างๆ จาการทำงานและทำการศึกษาคนไข้เป็นรายบุคคล คนไข้หรือผู้ป่วย (client) ที่มีปัญหาหรือมีความผิดปกติทางจิต ซึ่งมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลีนิค นักจิตวิทยาจะไม่เพียงแต่ศึกษาเรื่องตามที่คนไข้เล่าให้ฟังเท่านั้น ยังต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตชีวประวัติ ศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและสิ่งแวดล้อมเพื่อดูภูมิหลังทางสังคมของคนไข้ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การทดสอบ การศึกษารายกรณี การสังเกต การสัมภาษณ์ สังคมมิติ การทดสอบทางจิตวิทยา อาทิ การทดสอบบุคลิกภาพ การฉายจิต เพื่อศึกษาเจตคติ ความต้องการทางอารมณ์และทางจิตใจ เพื่อดูสาเหตุของปกติทางบุคลิกภาพนั้นๆ ว่ามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร

คลินิก(Clinical Method)


รายละเอียด

- เป็นการศึกษาเฉพาะราย

- ศึกษาพฤติกรรมลึก

- ใช้เครื่องมือหลายอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลหลายด้าน

- ใช้ระยะเวลานาน

- ทำให้ทราบสาเหตุของพฤติกรรม

- ได้ข้อความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้กับกรณีอื่น

ตัวอย่าง

1. การศึกษาสาเหตุการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น

2. การศึกษาสาเหตุของการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ


4. การใช้แบบสอบถาม ( questionnaire )

การใช้แบบสอบถามเหมาะสำหรับในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีจำนวนมากๆ และต้องการคำตอบอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายอื่นๆ แบบสอบถามทีใช้จะต้องเป็นเครื่องมือที่มีความเป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเที่ยงตรง มีความเชื่อมั่นได้ สามารถวัดในสิ่งที่เราต้องการจะวัด ในการให้ตอบแบบสอบถามมักจะถาทเกี่ยวกับเจตคติเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการาจะทราบ เมื่อรวบรวมข้อมูลจาการตอบแบบสอบถามได้แล้วก็จะใช้วิธีการทางสถิติวิจัยหาคำตอบออกมา เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนขึ้นควรนำวิธีการอื่นมาใช้ตรวจสอบอีกครั้ง เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น

5. การสังเกต ( observation )


การสังเกตเป็นวิธีการเฝ้าดูพฤติกรรมของบุคคลโดยใช้ตา ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความชัดเจน ง่าย และสะดวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสังเกตว่าจะมีความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยา มีทักษะความชำนาญ มีความสามารถในการสังเกตมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ผู้สังเกตควรได้รับการฝึกฝนการสังเกตมาเป็นอย่างดี การสังเกตที่ดีนั้นจะต้องมีจุดมุ่งหมาย ว่าจะสังเกตเรื่องอะไร สังเกตไปทำไม สถานการณ์และสภาพการณ์ที่ต้องการสังเกตจำนวนครั้งในการสังเกต ระยะเวลา วันเวลาในการสังเกต สิ่งเหล่านี้ต้องกำหนดให้ชัดเจน และที่สำคัญผู้ที่ทำการสังเกตต้องไม่มีอคติต่อผู้ถูกสังเกตและเรื่องที่ทำการสังเกตอยู่

สังเกตอย่างมีระบบ(Systematic Method)


รายละเอียด

- ศึกษาพฤติกรรมในสถานการณ์จริง

- ต้องมี
นิยามปฏิบัติการ(Operational definition)

นิยามพฤติกรรมให้เป็นรูปธรรมที่สามารถวัดได้ สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น เกเร หมายถึงพฤติกรรมอะไรบ้าง เป็นต้น

- ต้องสังเกตและบันทึกอย่างมีระบบ

- กลุ่มตัวอย่างต้องไม่รู้ตัว

ตัวอย่าง

1. การศึกษาพฤติกรรมการแต่งกายผิดระเบียบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

2. การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องเรียนของนักศึกษาเอกนิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 3



---------------------------------------------------------------

แนวคิดของนักจิตวิทยาในการศึกษาพฤติกรรม


1. กลุ่มโครงสร้างของจิต ( Structuralism )


กลุ่มนี้เกิดจากผลงาน ของ อีบี. ทิสเชอเนอร์ วัตถุประสงค์ของจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ การวิเคราะห์ภายในจิตใจของมนุษย์ห ( introspection ) หรือ การพินิจภายใน ด้วยความระมัดระวัง ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะและประสบการณ์เกี่ยวกับจิตสำนึกแบบง่ายๆ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆ กลุ่มนี้เห็นว่าควรทำการวิเคราะห์สิ่งย่อยๆ หลายๆ อัน ทั้งสิ่งที่ยากและง่ายรวมเข้าเป็นกลุ่มก้อน พยายามมองว่าจิตประกอบด้วยประสบการณ์ย่อยๆ หลายๆ อัน นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาถึงเรื่องจิตธาตุ ( mental elements ) คือ เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย กับจิตใจ ซึ่งต่างก็เป็นอิสระแก่กัน แต่ก็ทำงานสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของบุคคลเกิดการจากกระทำของร่างกาย ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นเกิดจากการควบคุมและสั่งการของจิตใจ ซึ่งกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าโครงสร้างของจิตประกอบไปด้วย จิตธาตุ (mental elements ) ซึ่งจิตธาตุนี้ประกอบด้วยสัมผัส ( sensation ) รู้สึก ( feeling ) และจิตนาการหรือภาพจิต หรือจิตภาพ หรือจินตภาพ หรือมโนภาพ ( image ) จิตธาตุทั้ง 3 นี้ เมื่อมาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้น เช่น เกิดความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผล ฯลฯ ซึ่งจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญคือความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคลว่า บุคคลประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ จิตใจยังแบ่งย่อยได้ เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการคิด การจำ ฯลฯ และสิ่งที่นำใช้ในการจัดการศึกษานักการศึกษาเชื่อว่าหากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝนเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เช่น วิชาที่เกี่ยวกับการท่องจำ วิชาที่ต้องใช้ทักษะ วิชาที่ต้องใช้ความคิด เป็นต้น


2. กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Function a lism )


ผู้พัฒนากลุ่มนี้ คือ วิลเลียม เจมส์ ผู้บุกเบิกเริ่มต้น คือ จอร์ห ดิวอี้ และ เจมส์ แองเจิล นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ การทดสอบทางจิต และการใช้เนื้อหาวิชาต่างๆ โดยเน้นเกี่ยวกับ “ อะไร ” . ” เพื่ออะไร ” สนใจเกี่ยวกับว่ามีสิ่งมีชีวิตทำอะไร และการกระทำนี้จะรวมถึงอากัปกริยาที่แสดงออกรวมกับความตั้งใจในการกระทำ ซึ่งจิตจะมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรมของร่างกายในการที่ร่างกายในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

แนวความคิดของกลุ่มหน้าที่ของจิตสรุปได้ 2 ประการ


1. การแสดงออก หรือการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าต้องการจะศึกษาจิตใจของคนต้องศึกษาที่การแสดงออก หรือการกระทำของเขาในสถานการณ์ต่างๆ
2. พฤติกรรมการกระทำ และการแสดงออกของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับมา นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ความจำของคนเพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมได้ แนวคิดของกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาคือเพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสูข ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ว่า การศึกษาคือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม วิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ให้มากที่สุด

3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )


ผู้นำกลุ่มนี้ คือ จอห์น บี วัตสัน ( John B. Watson ) กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการพินิจภายในหรือวิธีการตรวจสอบตนเอง และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในเรื่องที่ว่าพยายามทำให้มนุษย์เป็นเหมือนเครื่องจักรวัตสันมีความเห็นว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำที่ทุกคนเห็นได้ ส่วนจิตสำนึกเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถมองเห็นได้ดังนั้นศาสตร์ควจจะเกี่ยวข้องกับความจริงทุกคนเห็นได้ มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเราเกิดขึ้นจากการแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และการตอบสนองติดต่อกันไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้า จิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชื่อว่าการฝึกอบรมเด็กให้มีพฤติกรรมตามที่ปรารถนได้ พฤติกรรรมของคนเกิดการเรียนรู้มากกว่าที่จะเป็นไปเองธรรมชาติ


4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )


ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) ฟรอยด์เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย ฟรอยด์ได้วิเคราะห์ภาวะจิตใจของคนเราออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ภาวะจิตรู้สำนึก ( conscious mind ) คือภาวะที่คนเราความรู้สึกตัวว่าเราคือใคร กำลังทำอะไร รู้ตัว รู้ตนว่าเป็นอะไร คือเป็นภาวะที่คนเรารู้สึกตัวมีสตินั่นเอง ส่วนจิตใต้สำนึก ( subconscions mind ) คือ สภาพที่ไม่รู้ตัวบางขณะ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่จำและไม่ได้ลืมเสียทีเดียว แต่ไม่ได้นึกถึงในขณะนั้น จะนึกขึ้นมาได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเตือนทำให้นึกออกหรือคิดได้ทันที เป็นประสบการณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เป็นสภาวะที่คนเราสามารถระลึกได้ และจิตไร้สำนึก ( unconscious mind ) เป็นสภาวะที่คนเราเก็บกดบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ในส่วนลึกของจิตใจ บางครั้งเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้ว่าการทำสิ่งนั้นเพราะอะไร เป็นสิ่งที่เก็บกดเอาไว้หรือพยายามที่จะลืม บางครั้งก็อาจลืมไปได้จริงๆ เพราะอาจเป็นสถานการณ์ที่เจ็บปวดไม่อยากจะจำไว้ การออกของจิตไร้สำนึกหรือสิ่งที่เราเก็บกดเอาไว้เหล่านี้มักจะออกมาในรูปของความฝัน การละเมอการพลั้งปากพูดออกไป หรือการสะกดจิตของจิตแพทย์เพื่อต้องการรู้ถึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นความขัดแย้งในใจและเชื่อว่าเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติและบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาของบุคคล นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้วิเคราะห์องค์ประกอบของจิต หรือ พลังจิต ออกเป็น 3 ส่วน คือ อิด ( id ) หรือ ตัณหา คือ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง ความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ รวมทั้งสัญชาติญาณและแรงขับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่คอยกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ ( pleasure principle ) เพื่อตอบสนองความต้องการของตน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ขัดเกลา ไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น แสดงออกให้มาซึ่งสิ่ งท ี่ตนต้องการ ทำพฤติกรรมต่างๆ ตามความพอใจ พฤติกรรมที่แสดงออกมาภายใต้อิทธิพลของอิดนี้จึงมีลักษณะค่อนข้าง ก้าวร้าว หยาบคาย เห็นแก่ตัว บางครั้งโหดร้าย เป็นต้น ส่วนอีโก้ ( ego) คือ พลังจิตที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งบุคคลได้รับมาจากการในสังคม ได้ผ่านการอบรมมาแล้ว การแสดงออกของอีโก้นั้นยึดหลักของเหตุผล ( reality principle ) เป็นเหตุเป็นผลหาทางให้อิดได้ตอบสนองโดยไม่ขัดกับคุณธรรม หรือค่านิยมของสังคม ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมดำเนินไปอย่างเหมาะสม และตัวสุดท้าย คือ ซุปเปอร์อีโก้ ( super ego ) คือ ส่วนที่เป็นอุดมการณ์ ค่านิยมอุดมคติ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของความรู้สึกชอบชั่วดีบทบาทของกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้จะเน้นหนักไปทางด้านบุคลิกภาพ การแนะแนว และมักเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ใช้ประโยชน์ในจิตวิทยาคลีนิค การให้คำปรึกษา ศึกษาพวกอปติ โดยจะศึกษาถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติของมนุษย์โดยทั่วไป

5. กลุ่มเกสตัสท์ ( Gestalt Psychology )


ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ กับคณะ คือ เคิร์ท คอฟกา และวูฟแกง โดห์แลอร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ที่ประเทศเยอรทมันนี ส่วนคำว่า “ เกสตัลท์ ” ( Gestalt ) นั้นเป็นคำในภาษาเยอรมันซึ่งตรงกับคำในภาษาอังฤกษ “ form ” หรือ “ figure ” หรือ “ configuration ” หมายถึง แบบหรือรูปร่างรูปแบบ การรวมหน่วยย่อย การรวมเป็นรูปร่าง หรือโครงรูปแห่งการรวมหน่วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยืดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ หลักสำคัญที่เกี่ยวกับจิตวิทยาเกสตัลท์ ได้แก่


1) การรับรู้ภาพและพื้น ( figure and ground ) การที่คนเรารับภาพต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือรูปภาพทางเรขาคณิต เป็นรูปต่างๆขึ้นมาได้นั้น เพราะเส้นต่างๆตัดพื้น ทำให้เกิดภาพขึ้นมามองเห็นเป็นกระสวน ( pattern ) ของรูปภาพต่างๆ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้น บางครั้งเราจะมองเห็นภาพและพื้นสลับกัน การเห็นเป็นแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับการมองหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2) การรับรู้เป็นหมวดหมู่และเป็นกระสวน ( perceptal grouping and pattern ) กระสวนที่เรียบง่ายของเส้น ของจุด ย่อยมีความสัมพันธ์กับจนเรามองเห็นเป็นกลุ่มเดียวกันได้ง่ายเนื่องจากโครงสร้างของภาพต่างๆ มีอิทธิบังคับให้เราเห็นเป็นกระสวนไปตามที่จงใจจัดไว้
3) การพิสูจน์การรับรู้ ( perceptual hypothesis ) ภาพที่มองอาจจะกลับไปกลับมาก็ได้ ( reversible figure ) การเห็นภาพกลับได้เช่นนี้ชี้ว่าในเมื่อสิ่งเร้าเสนอภาพมาให้เลือกเป็นสองแง่เช่นนี้ เราก็ต้อง
กำหนดไว้ว่าการมองของเรานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิสูจน์ให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าเราจะรับรู้ความหมายอัน่ไหน
4) มายาแห่งการรับรู้ในการมองภาพ ( visual illusion ) บางครั้งเราเลือกรับรุ้ภาพผิดอันเป็นผลจากการพิสูจน์สมมุติฐานไม่ออก เราจะพบภาพมายาทันที แบ่งออกเป็น
4.1 มายาแห่งการรับรู้อาจได้จากปัจจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของขนาด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ ที่ห้อมล้อมอยู่
4.2 มายาแห่งการรับรู้อาจเกิดขึ้นจากเอาภาพหนึ่งฉายเข้าไปในมิติที่สาม ทำให้เกิดการตัดกันของเส้นตรง
4.3 มายาที่เกิดจากเส้นขนานที่ถูกอิทธิพลของระยะไกล เช่น เราทราบว่าทางรถไฟนั้นขนาดเดียวกันตลอด กระนั้นเราก็เห็นส่วนที่ใกล้กว้างกว่าส่วนที่ไกล เราเรียกว่า ponzo illusion
5) การหยั่งเห็น ( insight ) กลุ่มนี้เชื่อว่าความสามารถในการแก้ปัญหาของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น คนเราจะหยั่งเห็นได้ต้องอาศัยการมีประสบการณ์เป็นตัวช่วยในการรับรู้การนำหลักของจิตวิทยาเกสตัลท์มาใช้

จิตวิทยาเกสตัลท์เน้นเรื่องการรับรู้และการรับรู้ มีการนำหลักมาใช้ดังนี้
1. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะแสวงหาข้อยุติ หากมีสถานการณ์ หรือปัญหาใดยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์มนุษย์จะมุ่งความสนใจจนกว่าจะได้รับคำตอบในเรื่องนั้นอย่างบูรณ์
2. มนุษย์มุ่งสนองความต้องการในปัจจุบันให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ละคนจะรับรู้ต่างๆ ตามความต้องการในขณะนั้นของตน เช่น วัตถุทรงบกลม สำหรับที่กำลังหิวอาจเห็นเป็นลูกแอปเปิ้ล ส่วนเด็กที่กำลังอยากเล่นจะเห็นเป็นฟุตบอลก็ได้
3. พฤติกรรมของมนุษย์เป็นหน่วยรวม ที่มีความสำคัญมากกว่าพฤติกรรมย่อยหลายๆ อันมารวมกัน เช่น การฟังดนตรี เป็นกระบวนการที่เกิดจากการรวมเสียงตัวโน้ตแต่ละตัวรวมกันเป็นทำนองเพลง
4. พฤติกรรมของมนุษย์จะเป็นที่เข้าใจและมีความหมาย เมื่อทราบถึงที่มาของพฤติกรรมนั้นเช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่เฆี่ยนตีเสมอ เมื่อเห็นครูเดินถือไม้บรรทัดเข้ามาหาก็อาจคิดว่าครูกำลังจะเขามาโทษตัวเอง
5. ประสบการณ์ที่มนุษย์ได้รับเป็นผลจากหลักการภาพและพื้น ถ้าเราให้ความสนใจต่อสิ่งใดในขณะนั้น สิ่งนั้นเป็นภาพและสิ่งอื่นจะเป็นพื้น เช่น ในขณะที่เราดูภาพวาดสีและรูปทรงถือเป็นภาพจะเปลี่ยนเป็นพื้น จะเห็นได้ว่าจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นี้เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ได้ผลดีกับปัญหาต่างๆ หลายด้าน เช่น การบรรลุสัจการแห่งตน การาพัฒนาสภาพจิต การสื่อสารระหว่างบุคคล การตัดสินใจแก้ปัญหา การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์


6. กลุ่มมนุษย์นิยม ( Humaniam )

ผู้นำกลุ่มนี้ คือ คาร์ โรเจอร์ ( Carl R. Rogers ) และ อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham H. Maslow ) มีแนวคิดดังนี้ ( กันยา สุวรรณแสง .2540 )
1)เชื่อว่ามนุษย์ทีจิตใจ มีความรู้สึก มีความรัก ต้องการความอบอุ่น ต้องการความเข้าใจและมีความสามารถเฉพาะตัว
2) เชื่อว่ามนุษย์พยายามที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองอื่นและและยอมรับในความสามารถของตนเอง
3) มีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว ต่างก็มุ่งสร้างความเป็นที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
4) มนุษย์ควรมีอิสระที่จะเลือกกระทำ เลือกประสบการณ์ให้แก่ตนเอง
5) มีความเห็นว่าวิธีการค้นคว้า และ แสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่างๆ นั้น เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญกว่าตัวความรู้หรือข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวความรู้จึงไม่คงที่ตายตัว ดังนั้นที่สำคัญก็วิธีการแสวงหาความรู้
กลุ่มนี้มองว่ามนุษย์มีแต่สิ่งที่ดีงาม ทุกคนอยากทำความดี จะเน้นคุณค่าของความเป็นเพราะมนุษย์มีความเป็นอิสระในการคิดการตัดสินใจและมีความรับชอบด้วยกันทุกคน

7. มนุษย์ตามหลักพุธทศาสนา


จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสนานี้ กล่าวว่ามนุษย์ประกอบด้วยกาย ( รูปขันธ์ ) และจิต ( นามขันธ์ ) ขันธ์ แปลว่า หนวด หมู่ กอง ซึ่งมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ห้า หรือเบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบ 5 ส่วน ที่ประชุมรวมกันเป็นหน่วยรวม ซึ่งสมมุติเรียกว่าบุคคล ( a human beig ) หรือตัวเรา ( a person ) นั่นเองขันธ์ 5 ( the five aggregateas ) ประกอบด้วย ( จำลอง ดิษยวณิช . 2541 )
1) รูปขันธ์ ( corporeality ) คือ กองรูปได้แก่ส่วนที่เป็นร่างกาย รวมทั้งพฤติกรรมอาการและคุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผม เล็บ ฟัน หนังปอด ตับไต การยืน การเดิน การยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพทางกายจับต้องได้ มองเห็นได้อย่างชัดเจน
2) เวทนาขันธ์ ( feeling ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า เป็นความรู้สึกจากการเสวยอารมณ์ซึ่งความรู้สึกนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สุขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นสุข ทุกขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ และอุเบกขาเวทนาคือความรู้สึกเฉยๆหรือไม่สุขไม่ทุกข์
3) สัญญาขันธ์ ( perception ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสแล้วประทับอยู่ในความทรงจำ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้นรส การสัมผัสและการนึกคิด สัญชานยังมีความคล้ายกันอย่างมากกับความรู้สึกจากการสัมผัสหรืออินทรีย์สัมผัส ( sensation ) และสัญชาน หรือการกำหมดรู้ ( Perception ) ในทางจิตวิทยาความรู้สึกจากการสัมผัสคือการเปลื่ยนรูปของสิ่งเร้าทีมากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาท ที่ถูกส่งมาเป็นข้อมูลทางสรีรวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่มากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาทที่ถูกส่งมา เป็นข้อมูลทางสรีวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่สามารถจะรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร
4) สังขารขันธ์ ( mental formation ) หรือความคิด คือกอ สังขารเป็นส่วนของความคิดที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากรูปขันธ์ มาประกอบกันเป็นมโนกรรม แบ่งเป็น การคิดกุศล การคิดอกุศล การคิดอกุศล และการคิดตามปกติวิสัยในเรื่องทั่วๆ ไป ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจาและใจที่เป็นบุญ บาป หรือกลางๆ ดังนั้นกิเลสที่แท้จริงก็คือตัวสังขารหรือกิเลสอยู่ที่สังขารนั่นเอง
5) วิญญาณขันธ์ ( consciousness ) คือ กางวิญญาณ ได้แก่ส่วนที่เป็นการรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า อารมณ์ในทางพุทธศาสนาแตกต่างจากอารมณ์หรืออาเวค ( emotion ) ในทางจิตวิทยา อารมณ์ทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งเร้าภายนอก ซึ่งได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องกาย และสิ่งที่ใจนึกคิด ส่วนในทางจิตวิทยาอารมณ์ หรือ อาเวค หมายถึง ความสะเทียนใจที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกยั่วยุโดยสถานการณ์บางอย่างจนเกิดการตอบสนองทางสรีวิทยาอย่างซับซ้อน เช่น ความโกรธ ความกลัว ความสุข ความสะเทือนใจ เป็นต้น เวลาโกรธ จะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งความจริงแล้วอารมณ์ในทางจิตวิทยาก็คือเวทนาในลักษณะหนึ่งนั่นเอง

ดังนั้นแนวความคิดที่ว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิตว่าเป็นอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ยังคงถกเถียงกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นักจิตวิทยาก็ยังคงศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทั้งสองอย่าง โดยศึกษาทั้งพฤตกรรมนอก (กาย) และพฤติกรรมภายใน (ใจ)


---------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม


อ.สุธาสินี ศรีวิชัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น